บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.) ให้ความสำคัญกับงานวิจัยและพัฒนามาเป็นเวลานาน โดยกำหนดให้มีหน่วยงานรับผิดชอบงานด้านการวิจัยและพัฒนาในโครงสร้างองค์กรอย่างชัดเจน มีนโยบายส่งเสริมการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม โดยมีแนวทางส่งเสริมในหลายวิธีการอย่างเข้มข้น มาตั้งแต่ปี 2549 อีกทั้งผู้บริหารระดับสูงให้ความสำคัญโดยร่วมเป็นคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการอำนวยการส่งเสริมงานวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม และให้การสนับสนุนงบประมาณอย่างต่อเนื่อง
บวท. กำหนดหน่วยงานรับผิดชอบงานส่งเสริมงานนวัตกรรมโดยตรง นอกจากนี้ได้เรียนเชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกองค์กร ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ ความชำนาญสูง และได้รับการยอมรับในส่วนของความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านระดับประเทศเป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการอำนวยการส่งเสริมฯ เพื่อให้คำปรึกษาแนะนำต่อการดำเนินงานวิจัย พัฒนา และนวัตกรรมในเรื่องที่เป็นประโยชน์ทั้งกับภารกิจของ บวท. และทั้งที่เป็นประโยชน์กับอุตสาหกรรมการบินของประเทศ ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินงานส่งเสริมนวัตกรรมในองค์กรของ บวท. มีการพัฒนาอย่างเป็นระบบและยั่งยืน
นอกจากนี้ ยังได้กำหนดเรื่องการผลักดันให้เกิดนวัตกรรมในองค์กรไว้เป็นเป้าประสงค์ในแผนวิสาหกิจอย่างชัดเจน และมีการกำหนดแผนการส่งเสริมนวัตกรรมอย่างเป็นรูปธรรม มีการทำงานร่วมกันในลักษณะการบูรณาการแผนงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการผลักดันให้เกิดนวัตกรรมในองค์กร ได้แก่ หน่วยงานที่รับผิดชอบงานทรัพยากรบุคคลต่อยอดการจัดการความรู้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังมีการจัดทำแนวทาง การส่งเสริมงานวิจัย พัฒนา และนวัตกรรมที่ถ่ายทอดมาจากกลยุทธ์ นโยบายระดับองค์กร มีการกำหนดแผนงาน/โครงการ และกิจกรรมไว้อย่างเป็นระบบ มีการบูรณาการงานนวัตกรรมกับระบบงาน/แผนงานภายในองค์กร และมีการสร้างพันธมิตรภายนอกองค์กร แสดงให้เห็นวงจรการพัฒนาองค์กรนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง
การพัฒนานวัตกรรม บวท. และผลงานที่ได้รับรางวัลในเวทีระดับประเทศและระดับนานาชาติมีลำดับดังนี้
2549
บวท. กำหนดหน่วยงานรับผิดชอบงานส่งเสริมงานนวัตกรรมโดยตรง นอกจากนี้ได้เรียนเชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกองค์กร ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ ความชำนาญสูง และได้รับการยอมรับในส่วนของความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านระดับประเทศเป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการอำนวยการส่งเสริมฯ เพื่อให้คำปรึกษาแนะนำต่อการดำเนินงานวิจัย พัฒนา และนวัตกรรมในเรื่องที่เป็นประโยชน์ทั้งกับภารกิจของ บวท. และทั้งที่เป็นประโยชน์กับอุตสาหกรรมการบินของประเทศ ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินงานส่งเสริมนวัตกรรมในองค์กรของ บวท. มีการพัฒนาอย่างเป็นระบบและยั่งยืน
นอกจากนี้ ยังได้กำหนดเรื่องการผลักดันให้เกิดนวัตกรรมในองค์กรไว้เป็นเป้าประสงค์ในแผนวิสาหกิจอย่างชัดเจน และมีการกำหนดแผนการส่งเสริมนวัตกรรมอย่างเป็นรูปธรรม มีการทำงานร่วมกันในลักษณะการบูรณาการแผนงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการผลักดันให้เกิดนวัตกรรมในองค์กร ได้แก่ หน่วยงานที่รับผิดชอบงานทรัพยากรบุคคลต่อยอดการจัดการความรู้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังมีการจัดทำแนวทาง การส่งเสริมงานวิจัย พัฒนา และนวัตกรรมที่ถ่ายทอดมาจากกลยุทธ์ นโยบายระดับองค์กร มีการกำหนดแผนงาน/โครงการ และกิจกรรมไว้อย่างเป็นระบบ มีการบูรณาการงานนวัตกรรมกับระบบงาน/แผนงานภายในองค์กร และมีการสร้างพันธมิตรภายนอกองค์กร แสดงให้เห็นวงจรการพัฒนาองค์กรนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง
การพัฒนานวัตกรรม บวท. และผลงานที่ได้รับรางวัลในเวทีระดับประเทศและระดับนานาชาติมีลำดับดังนี้
2549
- เริ่มสนับสนุนทุนวิจัยแก่พนักงาน ในวงเงินงบประมาณปีละ 5 ล้านบาท
2550
- จัดกิจกรรมเปิดตัวองค์กรแห่งนวัตกรรม ภายใต้ชื่องาน “ศักราช...แห่งนวัตกรรม”
2551
- จัดกิจกรรมการประกวดผลงานวิจัย พัฒนา สิ่งประดิษฐ์ หรือนวัตกรรม เป็นปีแรก
- ผลงานวิจัยและพัฒนาระบบบริหารสภาพคล่องจราจรทางอากาศผ่านอ่าวเบงกอล (Bay of Bengal Cooperative Air Traffic Flow Management: BOBCAT) ได้รับรางวัล ATCA Industrial Award จากการตัดสินของสมาคมผู้ให้บริการควบคุมจราจรทางอากาศ (Air Traffic Control Association: ATCA) ซึ่งมีสมาชิกจากหน่วยงานให้บริการจราจรทางอากาศจากเกือบทุกประเทศในโลก
- จัดตั้งหน่วยงานรับผิดชอบงานส่งเสริมนวัตกรรมในโครงสร้างองค์กร
2552
- ผลงาน BOBCAT ได้รับรางวัลนวัตกรรมดีเด่นจากงานมอบรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กระทรวงการคลัง
2553
- จัดให้มี “โครงการนวัตกรรมชุมชน” โดยให้บุคลากรของศูนย์ควบคุมการบินทั่วประเทศใช้ความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญในงานวิจัยฯช่วยเหลือชุมชนในพื้นที่โดยรอบหน่วยงานเพื่อให้เกิดนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ สามารถแก้ไขปัญหา พัฒนาสินค้า บริการ สร้างอาชีพและรายได้ให้กับชุมชน ตลอดจนกิจกรรมตามความต้องการของชุมชน เพื่อตอบแทนสังคมตามนโยบายด้านความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ Corporate social responsibility (CSR)
- ผนวกรวมงานส่งเสริมนวัตกรรมกับการจัดการความรู้ (Knowledge Management) ไว้ภายใต้ความรับผิดชอบของหน่วยเดียวกัน เพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ
2554
- จัดนิทรรศการผลงานนวัตกรรมเต็มรูปแบบ โดยบูรณาการการสาธิตผลงานนวัตกรรมกับกระบวนการจัดการความรู้
2555
- ผลงานสายอากาศ VHF เพื่อการติดต่อสื่อสารในการบินทดสอบปรับแต่งระบบอุปกรณ์เครื่องช่วยการเดินอากาศ ได้รับรางวัลนวัตกรรม (ชมเชย/ระดับองค์กร) จากงานมอบรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กระทรวงการคลัง
2556
- จัดการประกวดแนวคิดสร้างสรรค์เป็นปีแรก เพื่อกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมในกระบวนการทำงานอย่างเป็นรูปธรรม
- ผลงานเครื่องลงคะแนนเลือกตั้ง รุ่นที่ 4 ได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณ สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย จากการประกวดรางวัลผลงานประดิษฐ์ คิดค้น จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
- ผลงานระบบเครื่องช่วยการเดินอากาศนำร่องต้นแบบ สำหรับซ่อมบำรุงและฝึกอบรม (DVOR Mock up for Repairing and Training) ได้รับรางวัลนวัตกรรม (ชมเชยระดับองค์กร) ในงานมอบรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กระทรวงการคลัง
2557
- โปรแกรมจัดการจราจรขาออกท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (Suvarnabhumi Gate Hold Manager) ได้รับรางวัลนวัตกรรม (ชมเชย/ระดับองค์กร) ในงานมอบรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กระทรวงการคลัง
- ผลงาน “การวาดภาพพื้นที่การให้บริการจราจร ทางอากาศ ด้วย Software Radio Mobile” ได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ จากการประกวดรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
- ผลงาน “อุปกรณ์สำหรับป้องกันนกบินมาเกาะสายอากาศ Near Field Monitor ของระบบเครื่องช่วยการเดินอากาศ” ได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณ สาขาวิศวกรรมและอุตสาหกรรมวิจัย จากการประกวดรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
2558
- บวท. ได้นำผลงานนวัตกรรม 2 ผลงานเข้าร่วมประกวดและจัดแสดงในเวทีนานาชาติเป็นปีแรก เพื่อสร้างโอกาสให้ทีมนวัตกรได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับนวัตกรจากนานาประเทศ ได้นำความรู้ วิทยาการ และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ได้รับ นำมาพัฒนา เชื่อมโยง และต่อยอดผลงานนวัตกรรม เพื่อประโยชน์ของบริษัทฯ โดยเข้าร่วมเวที 43rd International Exhibition of Inventions of Geneva ณ กรุงเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ดังนี้
- การวาดภาพพื้นที่การให้บริการจราจรทางอากาศด้วย Software Radio Mobile (Air Traffic coverage service plot by Radio Mobile Software) ได้รับรางวัลเหรียญทอง การประกวดผลงานงานนวัตกรรม กลุ่ม C (Computer Sciences-Software-Electricity-Methods of Communication )
- อุปกรณ์สำหรับป้องกันนกบินมาเกาะสายอากาศ Near Field Monitor ของระบบเครื่องช่วยการเดินอากาศ (Bird Prevention for Near Field Monitor Antenna) ได้รับรางวัลเหรียญทองแดง การประกวดผลงานงานนวัตกรรม กลุ่ม F (Security-Rescue-Alarm)
2559
- จัดการประกวดผลงานนวัตกรรมการจัดการกระบวนการเป็นปีแรก เป็นกระบวนการการปฏิบัติงานหรือการให้บริการต่อผู้ใช้บริการทั้งภายในและภายนอกองค์กรที่มีการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการทำงานในฝ่ายงานให้มีประสิทธิภาพหรือคุณภาพ เพื่อตอบสนองความต้องการ/ความคาดหวังของผู้ใช้บริการหรือการแก้ไขปัญหา/ข้อจำกัด หรือการปรับตัวให้สอดรับกับโอกาสหรือแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมในอนาคต
- ระบบตรวจสอบและติดตามสัญญาณรบกวนบริเวณพื้นที่ให้บริการจราจรทางอากาศ (Monitoring and Identification of Interference for Air Traffic Services) ได้รับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ : รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น รางวัลประกาศเกียรติคุณ ประจำปี 2559 สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ ได้เข้าร่วมการประกวดและจัดแสดงในเวที 44th International Exhibition of Invention of Geneva 2016 และได้รับรางวัล 2 รางวัล ดังนี้
- รางวัลเหรียญเงิน การประกวดผลงานงานนวัตกรรม กลุ่ม C (Computer Sciences-Software-Electricity-Methods of Communication)
- รางวัล Excellent Award จาก Korea University Invention Association (KUIA)
2560
- บวท. ได้ปรับมุมมองการนำเสนอผลงานนวัตกรรมในลักษณะ User Challenge โดยนำแนวทางของ ICAO (ICAO Performance Based Transition Guidance) มาเป็นกรอบในการพัฒนาผลงานซึ่งมีตัวชี้วัดจำนวน 11 ตัว (Eleven Key Performance Areas: 11 KPAs)
- บวท. นำผลงาน“เครื่องมือสนับสนุน/การบริหารความคล่องตัวการจราจรทางอากาศ/ในสภาพการปฏิบัติงานที่ไม่ปกติ” ซึ่งเป็นผลงานนวัตกรรมที่ได้รับรางวัลจากการประกวดผลงานนวัตกรรมองค์กรประจำปี 2559 ร่วมการประกวดและจัดแสดงในเวทีภายนอกโดยได้รับรางวัลดังนี้
- ผลงาน Air Traffic Flow Management Platform (ATFM Platform) ได้รับรางวัล HIS Jane’s ATC Award ประเภท Service Provision - for contribution to safe and efficient managment ซึ่งจัดขึ้นในงาน World ATM Congress 2017 ณ กรุงมาดิรด ราชอาณาจักรสเปน
- ผลงาน "เครื่องมือสนับสนุนการบริหารความคล่องตัวการจราจรทางอากาศในสภาพการปฏิบัติงานที่ไม่ปกติ" (Air Traffic Flow Manament for Adverse Conditions) ได้รับรางวัล 2 รางวัล คือ
- รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ: รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น รางวัลระดับดีมาก ประจำปี 2560 สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์
- รางวัลผลงานนวัตกรรมระดับเหรียญทองแดงในกลุ่มผลงานประเภท P (Transport – Motor Vehicles –Ships – Aviation Accessories) ในงาน 45th International Exhibition of Inventions of GENEVA 2017 ณ กรุงเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส
2561
จากการปรับเป้าหมายการส่งเสริมให้นวัตกรรมมีลักษณะ User Challenge โดยนำ ICAO Based Performance Guidance (11 KPAs) มาเป็นโจทย์ในการสร้างนวัตกรรม พร้อมทั้งได้มีการทบทวนคณะกรรมการส่งเสริมฯ ให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการ ทั้งนี้ ในปี 2561 เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มจากการพัฒนาผลงานฯ บวท. จึงมุ่งเป้าไปยังผลงานนวัตกรรมที่พร้อมเข้าใช้งานจริง โดยพิจารณาและประเมินความเหมาะสม และความคุ้มค่าในการขยายผล ผลงานวิจัย พัฒนา และนวัตกรรมที่แล้วเสร็จ และมีผลงานนวัตกรรมที่พร้อมเข้าใช้งาน จำนวน 5 ผลงาน ดังนี้
- ระบบตรวจสอบและติดตามสัญญาณรบกวนบริเวณพื้นที่ให้บริการจราจรทางอากาศ
- เครื่องมือสนับสนุนการบริหารความคล่องตัวการจราจรทางอากาศในสภาพการปฏิบัติงานที่ไม่ปกติ
- อุปกรณ์ตรวจวัดการแพร่กระจายคลื่นรบกวนสำหรับวิทยุการกระจายเสียง
- ระบบแสดงผลข้อมูลเป้าอากาศยานในส่วนการแสดงข้อมูลเป้าอากาศยานผ่านทางอินเตอร์เน็ต
- การพัฒนาระบบประสานงานบริหารจราจรทางอากาศระหว่างทหารและพลเรือน
2562
บวท. นำผลงานที่ได้รับรางวัลจากการประกวดผลงานนวัตกรรมองค์กรประจำปี 2561 ร่วมการประกวดและจัดแสดงในเวทีภายนอกโดยได้รับรางวัลดังนี้
- ผลงาน “ระบบควบคุมและแสดงสถานะอุปกรณ์อัจฉริยะ กองวิศวกรรมระบบสื่อสารการเดินอากาศ (CIMC – CE.SE. Intelligent Monitoring and Control System)” ได้รับรางวัล ดังนี้
- รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ : รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2562 รางวัลประกาศเกียรติคุณ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์
- รางวัล International Exhibition of Inventions of Geneva 2019 ณ กรุงเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส - รางวัลระดับเหรียญเงิน ประเภท Computer sciences - Software – Electronics - Electricity - Methods of Communication (Class C)
- รางวัล Special Prize : FIRI Award จาก Institute of Inventors and Researchers of Iran (FIRI)
- ผลงาน “อุปกรณ์ป้องกันความเสียหายจากความเข้มของสัญญาณวิทยุที่สามารถเลือกค่าเทรสโฮลด์ได้ (The Selectable Threshold RF Field Strength Protection Device)” ได้รับรางวัล ดังนี้
- รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ : รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2562 รางวัลประกาศเกียรติคุณ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์
- The International Trade Fair-Ideas, Inventions and New Products 2019
- รางวัลระดับเหรียญเงิน Industry Inventor Awarding of Prizes for Industry Inventors กลุ่ม C : Electricity (Basic Electronic Circuitry)
- รางวัล Special Prize ระดับเหรียญทอง จาก Ministry of Science and Higher Education of the Russian Federation
2563
บวท. ได้ทบทวนแนวทางการจัดประกวดผลงานนวัตกรรมและแนวคิดสร้างสรรค์ประจำปี และได้ปรับการประกวดเป็น ๒ ประเภท ได้แก่
๑. ประเภทรางวัลผลงานนวัตกรรม/แนวคิดสร้างสรรค์เพื่อการขับเคลื่อนองค์กร เน้นการคิดสร้างสรรค์และการพัฒนาผลงานนวัตกรรมที่มุ่งเป้าและตรงตามประเด็นความต้องการขององค์กร ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับนโยบายของรัฐบาล/กระทรวงที่เกี่ยวข้อง เช่น ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ที่เน้นการวิจัยที่มุ่งเป้าตอบสนองความต้องการในการพัฒนาประเทศ หรือ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (๒๓) การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม (พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๘๐) ที่กำหนดโจทย์การวิจัยที่ตอบความต้องการของประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ในประเทศ
๒. ประเภทรางวัลผลงานนวัตกรรม/แนวคิดสร้างสรรค์ที่สร้างคุณค่าเพิ่มให้กับองค์กร เป็นผลงาน/แนวคิดที่เกิดจากการวิเคราะห์ข้อมูลจากฐานข้อมูลของบริษัทฯ การต่อยอดแนวคิดและพัฒนาผลงานจาก KM ภายในหน่วยงานหรือกระบวนการตาม Value Chain ที่บริษัทฯ กำหนดไว้
๒. ประเภทรางวัลผลงานนวัตกรรม/แนวคิดสร้างสรรค์ที่สร้างคุณค่าเพิ่มให้กับองค์กร เป็นผลงาน/แนวคิดที่เกิดจากการวิเคราะห์ข้อมูลจากฐานข้อมูลของบริษัทฯ การต่อยอดแนวคิดและพัฒนาผลงานจาก KM ภายในหน่วยงานหรือกระบวนการตาม Value Chain ที่บริษัทฯ กำหนดไว้
เอกสารที่เกี่ยวข้อง:
- ระบบบริหารสภาพคล่องจราจรทางอากาศผ่านอ่าวเบงกอล.pdf
- โครงการสายอากาศ VHF.pdf
- เครื่องลงคะแนน.pdf
- ผลงานระบบเครื่องช่วยการเดินอากาศนำร่องต้นแบบ สำหรับซ่อมบำรุงและฝึกอบรม.pdf
- โปรแกรมแสดงการจัดการจราจรขาออกท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ.pdf
- การวาดภาพพื้นที่การให้บริการจราจรทางอากาศด้วย Software Radio Mobile.pdf
- อุปกรณ์ป้องกันนกเกาะสายอากาศมอนิเตอร์ของระบบเครื่องช่วยการเดินอากาศ.pdf
- ระบบตรวจสอบและติดตามสัญญาณรบกวนบริเวณพื้นที่ให้บริการจราจรทางอากาศ.pdf