จากแผนดำเนินงานเพื่อเดินไปสู่การเป็นเป็นผู้ให้บริการจราจรทางอากาศที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตามแนวทาง Green ATM อย่างยั่งยืน มีรายละเอียดเพิมเติมด้านที่ ๑ และด้านที่ ๒ ดังนี้






การดำเนินกิจกรรมการให้บริการควบคุมจราจรทางอากาศที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

                         จากการดำเนินกิจกรรมการให้บริการควบคุมจราจรทางอากาศที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและ
สิ่งแวดล้อมของบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.) ได้ทำการประเมิน (หรือวัดผล) ปริมาณ Carbon Emission (หรือ CO2(g)) จากการปฏิบัติการบิน ภายใต้บริบทการให้บริการจราจรทางอากาศของ บวท. สำหรับเที่ยวบินพาณิชย์ภายในประเทศ ๒ คู่สนามบิน ซึ่งเป็นหนึ่งในเป้าหมายดำเนินการปีงบประมาณ ๒๕๖๔ ของตัวชี้วัดผลการดำเนินการ KPI 2.10 ตามแผนวิสาหกิจปี พ.ศ. ๒๕๖๔ - ๒๕๖๘ ของบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.) คู่สนามบินดอนเมือง - เชียงใหม่ และ ดอนเมือง - ภูเก็ต ซึ่งเป็นคู่สนามบินภายในประเทศที่มีปริมาณเที่ยวบินสูงสุดสองอันดับแรก จากปริมาณเที่ยวบินภายในประเทศทั้งหมดของปีงบประมาณ ๒๕๖๒๑ ได้รับการคัดเลือกให้เป็นกลุ่มตัวอย่างเที่ยวบินที่จะนำมาพิจารณาในการศึกษานี้ โดยใช้ข้อมูลเที่ยวบินปีงบประมาณ ๒๕๖๓ ตั้งแต่วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ จนถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๓๒ ผู้ศึกษาทำการประเมินวิถีการบินเฉลี่ย (Average Flight Profile) ด้วยวิธี Synthetic Data Generation ที่พัฒนาขึ้น โดยโปรแกรม Alteryx เพื่อให้ได้มาซึ่งตัวแทนของวิถีการบินสำหรับแต่ละแบบอากาศยาน ตามเส้นทางบินและความสูง Cruise Level ที่อากาศยานทำการบินภายในห้วงอากาศที่ทำการศึกษา จากนั้นจึงทำการประเมินปริมาณ CO2(g) ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติการบินของอากาศยานตามวิถีการบินเฉลี่ยดังกล่าว โดยใช้แบบจำลองคณิตศาสตร์ Aviation Environmental Design Tool (AEDT) อันได้มาซึ่งผลการประเมินปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงฯ ที่อากาศยานใช้และปริมาณการปล่อย CO2(g) โดยสรุปสำหรับแต่ละกลุ่มตัวอย่างเที่ยวบิน ดังต่อไปนี้



















แผนเพิ่มประสิทธิภาพของวิถีการบินในเขตประชิดสนามบิน (Continuous Descent Operations: CDO)

                    จากการคาดการณ์ของสมาคมการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (International Air Transport Association : IATA) อุตสาหกรรมการบินของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะมีศักยภาพสูงมาก และจะเป็นตัวขับเคลื่อนของการเติบโตของอุตสาหกรรมการบินทั่วโลก โดยอัตราการเติบโตของการเดินทางทางอากาศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จะอยู่ในระดับสูงกว่าภูมิภาคอื่นๆ ในช่วงหลายปีข้างหน้า และภายในปี 2558 ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จะมีจํานวนผู้โดยสาร คิดเป็นร้อยละ 37 ของจํานวนผู้โดยสารทั้งหมด หรือประมาณ 1.31 พันล้านคน ซึ่งในจํานวนนี้ 212 ล้านคนเป็นผู้โดยสารชาวจีน ในขณะที่จํานวนผู้โดยสารในแถบยุโรปและอเมริกาเหนือจะลดลงไปอยู่ที่ร้อยละ 29 เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณผู้โดยสารในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ในปี 2553 ซึ่งมีสัดส่วน 1 ใน 3 ของจํานวนผู้โดยสารทั้งหมด ขณะที่จํานวนผู้โดยสารในยุโรป และอเมริกาเหนือ อยู่ที่ร้อยละ 31

 

การคาดการณ์ของ บริษัท แอร์บัส ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะเป็นผู้นําตลาดด้านการขนส่งทางอากาศที่ใหญ่ที่สุดของโลก นําหน้าภูมิภาคอเมริกาและยุโรป โดยอัตราผู้โดยสารที่ใช้บริการสายการบินของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 ต่อปีเมื่อเทียบกับอัตราผู้โดยสารทั่วโลกซึ่งจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 4.8  บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด จึงได้ดำเนินการ จัดทำแผนเพิ่มประสิทธิภาพของวิถีการบินในเขตประชิดสนามบิน สอดคล้องกับแผนของ ICAO “Aviation System Block Upgrades (ASBUs) Block 0” โดยทำการบินลงแบบ Continuous Descent Operations (CDO) ตามเอกสาร ICAO Doc 9931 Continuous descent operations (CDO).
















 

วัตถุประสงค์โครงการ แผนเพิ่มประสิทธิภาพของวิถีการบินในเขตประชิดสนามบิน (Continuous Descent Operations: CDO)

Safety: เกิดความปลอดภัย
Efficiency: เกิดประสิทธิภาพ ลดค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิง
Predictability: คาดการณ์ขั้นตอนการบินได้
Environmental Concern: ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
Reduced Communication: ลดการสื่อสารระหว่าง Controller กับ Pilot

ปัจจัยและเงื่อนไขของการปฏิบัติการบินลงแบบ CDO

1. Pilot ทำการร้องขอ/หรือ ATCO นำเสนอให้ปฏิบัติ
2. อากาศยานต้องติดตั้งระบบปฏิบัติการบินด้วย Flight Management System (FMS)
3. ภายใต้การให้บริการควบคุมจราจรทางอากาศด้วยระบบติดตามอากาศยาน (Under Surveillance Environment)
4. สภาพอากาศดี ตามเกณฑ์/ข้อกำหนดของ ICAO (Weather VMC)
5. สภาพปริมาณการจราจรเอื้ออำนวย (Traffic permit) และไม่สามารถปฏิบัติการบินลงแบบ CDO กรณี Special Operation
  VIP / เหตุฉุกเฉิน (Emergency) / บั้งไฟ (Fire Rocket)
 
ทั้งนี้ โครงการ CDO จึงเป็นอีกหนึ่งภารกิจที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในกิจการบิน ที่เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานด้าน CSR-in-process ของ บวท. อย่างเป็นรูปธรรม