มูลนิธิน่านฟ้าไทย
Nan FahThai Foundation
ความเป็นมา
มูลนิธิน่านฟ้าไทย (มนท.) เป็นนิติบุคลที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศในด้านการช่วยเหลือสังคมโดยมี บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.) เป็นผู้ให้การสนับสนุนหลัก โดยบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด เป็นผู้ริเริ่มแนวคิดการดำเนินโครงการ CSR เพื่อสร้างประโยชน์ในกลุ่มยุวชนที่ด้อยโอกาส โดยพิจารณาทำโครงการ CSR สนับสนุนการศึกษาให้แก่เด็กพิการ ซึ่งในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๔๘ ยังไม่มีหน่วยงานใดให้การสนับสนุนแก่เด็กพิการในระดับประถมศึกษา และ บวท. เห็นว่าเป็นเรื่องที่ดีและมีความสำคัญยิ่ง หากเด็กพิการจะได้รับการสนับสนุน จะทำให้ได้รับโอกาสเรียนรู้และพัฒนาตนเอง โดยไม่เป็นภาระแก่สังคม และแนวคิดที่เห็นว่าการที่กลุ่มผู้บริหารพนักงานที่ได้มาทำงานอยู่ในบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด นั้นถือว่าเป็นผู้ที่มีโอกาสที่ดีในชีวิตเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นผู้ที่ได้อยู่ในองค์ที่ดี อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีในทุกแง่มุมของชีวิต ดังนั้นเพื่อเอื้อเฟื้อและแชร์โอกาสดี ๆ นี้ให้กับสังคม เด็กพิการหรือผู้ด้อยโอกาส จึงได้ริเริ่ม จัดตั้งเป็น “กองทุนเพื่อการศึกษาและพัฒนาเด็กพิการ โดยวิทยุการบินฯ ร่วมกับสายการบิน” ในปี ๒๕๔๘ จากการดำเนินการนับว่าประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง บวท. จึงได้ดำเนินการจัดตั้งเป็น “มูลนิธิวิทยุการบินแห่งประเทศไทย” อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๔๙ ดำเนินการมอบทุนการศึกษาในระดับประถมศึกษาโดยคัดเลือกเด็กพิการในกรุงเทพฯ และปริมณฑลเพื่อรับมอบทุนการศึกษาฯ ทุนละ ๕,๐๐๐ บาท พร้อมค่าเดินทางสำหรับผู้รับทุนคนละ ๕๐๐ บาท รวมเป็น ๕,๕๐๐ บาท และต่อมาได้พัฒนาการดำเนินงานมาจนได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น “มูลนิธิน่านฟ้าไทย” เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๕๘ และต่อมามูลนิธิฯ เล็งเห็นว่าค่าครองชีพในปัจจุบันสูงขึ้น จึงได้เพิ่มมูลค่าทุนการศึกษาขึ้น เป็นทุนการศึกษาละ ๑๐,๐๐๐ บาท ต่อมา “มูลนิธิน่านฟ้าไทย” ได้รับการจดทะเบียนเป็นองค์การสถานหรือสาธารณกุศล ลำดับที่ ๙๑๓ ของประกาศกระทรวงการคลังฯ ทำให้ผู้ที่บริจาคเงินสนับสนุนมูลนิธิน่านฟ้าไทย สามารถนำใบเสร็จรับเงินไปทำการขอคืนภาษีปลายปีได้ เป็นการได้รับการลดหย่อนภาษี ตั้งแต่วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ เป็นต้นมา กิจกรรมดังกล่าวจึงเป็นการให้โอกาสทางการศึกษาแก่เด็กพิการหรือผู้ด้อยโอกาสในระดับประถมศึกษาทั่วประเทศ เพื่อให้เด็กพิการหรือผู้ด้อยโอกาสได้รับประสบการณ์ที่ดี เพิ่มคุณภาพชีวิตและส่งเสริมการใช้ชีวิตร่วมกับคนในสังคมได้อย่างปกติ เพื่อเป็นรากฐานที่สำคัญต่อการดำเนินชีวิตและประกอบอาชีพในอนาคตต่อไปได้อย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ ได้กำหนดหลักการและแนวทางการบริหารการดำเนินกิจกรรมเพื่อตอบแทนสังคมมาโดยตลอด ตั้งแต่ปี ๒๕๔๙ จนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้น ยังมุ่งมั่นพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการของมูลนิธิฯ ให้ตอบสนองความต้องการของประชาชนสังคมผู้พิการหรือผู้ด้อยโอกาส โดยเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านการส่งเสริมทางด้านการศึกษาและตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิฯ เป็นการแสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อสังคมของมูลนิธิฯ อีกด้วย
การดำเนินงานตลอดระยะเวลา ๑๔ ปี มูลนิธิฯ ได้แสดงให้เห็นและเป็นที่ยอมรับว่ามูลนิธิฯ ดำเนินการเพื่อสาธารณกุศลอย่างแท้จริง โดยมอบทุนการศึกษาไปแล้วจำนวนกว่า ๑,๘๘๐ ทุน โดยประมาณ คิดเป็นจำนวนเงินกว่า ๑๑ ล้านบาท และตระหนักถึงแนวทางการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมในด้านการเป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศลของประกาศกระทรวงการคลัง ที่มุ่งมั่นในการให้โอกาสและทุนการศึกษาแก่เด็กพิการหรือผู้ด้อยโอกาสอย่างจริงจังที่ยั่งยืนตลอดไป
ทั้งนี้ ได้กำหนดหลักการและแนวทางการบริหารการดำเนินกิจกรรมเพื่อตอบแทนสังคมมาโดยตลอด ตั้งแต่ปี ๒๕๔๙ จนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้น ยังมุ่งมั่นพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการของมูลนิธิฯ ให้ตอบสนองความต้องการของประชาชนสังคมผู้พิการหรือผู้ด้อยโอกาส โดยเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านการส่งเสริมทางด้านการศึกษาและตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิฯ เป็นการแสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อสังคมของมูลนิธิฯ อีกด้วย
การดำเนินงานตลอดระยะเวลา ๑๔ ปี มูลนิธิฯ ได้แสดงให้เห็นและเป็นที่ยอมรับว่ามูลนิธิฯ ดำเนินการเพื่อสาธารณกุศลอย่างแท้จริง โดยมอบทุนการศึกษาไปแล้วจำนวนกว่า ๑,๘๘๐ ทุน โดยประมาณ คิดเป็นจำนวนเงินกว่า ๑๑ ล้านบาท และตระหนักถึงแนวทางการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมในด้านการเป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศลของประกาศกระทรวงการคลัง ที่มุ่งมั่นในการให้โอกาสและทุนการศึกษาแก่เด็กพิการหรือผู้ด้อยโอกาสอย่างจริงจังที่ยั่งยืนตลอดไป
วัตถุประสงค์การจัดตั้งมูลนิธิฯ
๑. เพื่อให้โอกาสทางการศึกษาและพัฒนาแก่เด็กพิการ
๒. เพื่อสร้างประโยชน์แก่ผู้พิการที่ด้อยโอกาส
๓. เพื่อดำเนินการหรือร่วมมือกับองค์การการกุศลอื่น ๆ เพื่อสาธารณประโยชน์
๔. ไม่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับการเมืองแต่ประการใด
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาผู้มีสิทธิ์รับทุนการศึกษา ของมูลนิธิน่านฟ้าไทย
๑. เป็นผู้พิการที่อยู่ในกลุ่มพิการ ๕ ประเภท คือ
- พิการทางการมองเห็น
- พิการทางการได้ยิน
- พิการทางร่างกายหรือสุขภาพ
- พิการทางสติปัญญา
- ออทิสติก
- พิการทางการได้ยิน
- พิการทางร่างกายหรือสุขภาพ
- พิการทางสติปัญญา
- ออทิสติก
๒. เป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา
๓. มีความประพฤติดี
๔. ขาดแคลนทุนทรัพย์ในการศึกษา โดยจะพิจารณาจากรายได้ครอบครัว
๕. อำนาจการพิจารณาอยู่ในดุลยพินิจของคณะอนุกรรมการมูลนิธิฯ ด้านการคัดเลือกพิจารณาเด็กพิการเพื่อรับทุนการศึกษา
๖. การตัดสินของคณะอนุกรรมการมูลนิธิฯ ด้านการคัดเลือกพิจารณาเด็กพิการเพื่อรับทุนการศึกษา ถือเป็นที่สิ้นสุดแล้ว
๗. สำหรับเด็กพิการที่เคยได้รับทุนการศึกษา หรือเด็กพิการที่เคยได้รับทุนของมูลนิธิอื่นๆ สามารถสมัครเพื่อคัดเลือกเข้ารับทุนได้
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๑. มุ่งส่งเสริมการศึกษาแก่เด็กพิการที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ให้สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากโรงเรียนไปช่วยเหลือตนเองในการดำเนินชีวิตประจำวัน และหากได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง จะเกิดประโยชน์ต่อการนำไปประกอบอาชีพในอนาคต
๒. มุ่งส่งเสริมประสบการณ์ชีวิตในด้านต่าง ๆ แก่เด็กพิการ และสนับสนุนการทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างผู้พิการและเด็กปกติ เพื่อให้เกิดทัศนคติที่ดีต่อสังคม
๓. กระจายโอกาสทางการศึกษาให้ครอบคลุมแก่เด็กพิการทั่วประเทศ โดยมูลนิธิฯ มีแนวทางที่จะขยายการมอบทุนการศึกษาไปสู่เด็กพิการทั่วทุกจังหวัดของประเทศเพิ่มขึ้น
๔. เป็นตัวอย่างนำร่องของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในการช่วยเหลือผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสทางสังคม ซึ่งในปัจจุบันยังต้องการความช่วยเหลือเป็นจำนวนมาก และเพื่อตอบสนองนโยบายของภาครัฐที่ต้องการเพิ่มศักยภาพของผู้พิการให้ทัดเทียมกับคนปกติ
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงของโครงการจากการติดตามผล
จากการติดตามผลการมอบทุนการศึกษาและการจัดกิจกรรมต่าง ๆ แก่เด็กพิการทั่วประเทศ ได้รับเสียงตอบรับกลับมาอย่างดี โดยเด็กพิการที่ได้รับทุนการศึกษานำเงินที่ได้ไปใช้ในส่วนค่าเล่าเรียนการศึกษา บางส่วนนำไปซื้ออุปกรณ์ผู้พิการสำหรับการดำรงชีวิตประจำวัน
๓. มีความประพฤติดี
๔. ขาดแคลนทุนทรัพย์ในการศึกษา โดยจะพิจารณาจากรายได้ครอบครัว
๕. อำนาจการพิจารณาอยู่ในดุลยพินิจของคณะอนุกรรมการมูลนิธิฯ ด้านการคัดเลือกพิจารณาเด็กพิการเพื่อรับทุนการศึกษา
๖. การตัดสินของคณะอนุกรรมการมูลนิธิฯ ด้านการคัดเลือกพิจารณาเด็กพิการเพื่อรับทุนการศึกษา ถือเป็นที่สิ้นสุดแล้ว
๗. สำหรับเด็กพิการที่เคยได้รับทุนการศึกษา หรือเด็กพิการที่เคยได้รับทุนของมูลนิธิอื่นๆ สามารถสมัครเพื่อคัดเลือกเข้ารับทุนได้
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๑. มุ่งส่งเสริมการศึกษาแก่เด็กพิการที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ให้สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากโรงเรียนไปช่วยเหลือตนเองในการดำเนินชีวิตประจำวัน และหากได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง จะเกิดประโยชน์ต่อการนำไปประกอบอาชีพในอนาคต
๒. มุ่งส่งเสริมประสบการณ์ชีวิตในด้านต่าง ๆ แก่เด็กพิการ และสนับสนุนการทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างผู้พิการและเด็กปกติ เพื่อให้เกิดทัศนคติที่ดีต่อสังคม
๓. กระจายโอกาสทางการศึกษาให้ครอบคลุมแก่เด็กพิการทั่วประเทศ โดยมูลนิธิฯ มีแนวทางที่จะขยายการมอบทุนการศึกษาไปสู่เด็กพิการทั่วทุกจังหวัดของประเทศเพิ่มขึ้น
๔. เป็นตัวอย่างนำร่องของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในการช่วยเหลือผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสทางสังคม ซึ่งในปัจจุบันยังต้องการความช่วยเหลือเป็นจำนวนมาก และเพื่อตอบสนองนโยบายของภาครัฐที่ต้องการเพิ่มศักยภาพของผู้พิการให้ทัดเทียมกับคนปกติ
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงของโครงการจากการติดตามผล
จากการติดตามผลการมอบทุนการศึกษาและการจัดกิจกรรมต่าง ๆ แก่เด็กพิการทั่วประเทศ ได้รับเสียงตอบรับกลับมาอย่างดี โดยเด็กพิการที่ได้รับทุนการศึกษานำเงินที่ได้ไปใช้ในส่วนค่าเล่าเรียนการศึกษา บางส่วนนำไปซื้ออุปกรณ์ผู้พิการสำหรับการดำรงชีวิตประจำวัน
ซึ่งนับว่าโครงการประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี และจากการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ได้รับความสนใจจากเด็กพิการและผู้ด้อยโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก มีทั้งเด็กพิการทางการมองเห็น พิการทางการได้ยิน พิการทางร่างกายหรือสุขภาพ พิการทางสติปัญญา และออทิสติก ซึ่งสร้างความสนุกสนานและทัศนคติที่ดีต่อกันระหว่างเด็กพิการและอาสาสมัครผู้เข้าร่วมกิจกรรมช่วยเหลือเด็กพิการ และเป็นส่วนหนึ่งให้เด็กพิการได้เรียนรู้การใช้ชีวิตร่วมกับสังคมได้