ปัจจุบัน ปริมาณการจราจรทางอากาศ มีความซับซ้อนและคับคั่งมากขึ้น สายการบินต่างๆ และบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) จำเป็นต้องบริหารจัดการ ฝูงบินและจุดจอด/ประตูจอด สิ่งอำนวยความสะดวก และทรัพยากรต่างๆ ให้รองรับปริมาณความต้องการใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และอำนวยความสะดวกด้านปฏิบัติการบินอย่างเหมาะสม รวมถึงให้มีความปลอดภัยด้านการบินตามมาตรฐานสากล

ดังนั้น บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.) จึงได้พัฒนาระบบเซิฟเวอร์ และระบบซอฟท์แวร์แสดงผลข้อมูลเรดาร์ เพื่อให้บริการข้อมูลความเคลื่อนไหวของอากาศยานทั้งแบบการเชื่อมต่อประจำถิ่น (Local Area Network) หรือการเชื่อมต่อผ่านอินเตอร์เน็ต (Internet) โดยให้บริการได้ทั้งลูกค้าที่อยู่ภายในท่าอากาศยาน และอยู่ภายนอกท่าอากาศยาน ได้แก่

  • บริการระบบแสดงผลเรดาร์ภาคพื้นดิน หรือ Ground Situation Display (GSD)
  • บริการระบบแสดงผลเรดาร์ภาคพื้นอากาศ หรือ Air Situation Display (ASD)
  • บริการเกี่ยวเนื่องอื่นๆ

ระบบแสดงผลเรดาร์ภาคพื้นดิน หรือ Ground Situation Display (GSD)

ระบบ GSD รับข้อมูลจากการประมวลผลของระบบติดตามอากาศยานพื้นผิว (Surface Movement Radar/Multi-Lateration Radar) ณ ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ โดยนำมาจัดรูปแบบการแสดงผลให้เหมาะสมกับความต้องการใช้งาน เช่น การให้บริการการจัดลำดับการร่อนลงจอด และบริหารจัดการหลุมจอด รวมถึงการจัดการการให้บริการภาคพื้นดินสำหรับอากาศยานลงจอดเรียบร้อย

ระบบแสดงผลเรดาร์ภาคพื้นดิน หรือ Ground Situation Display (GSD)
ระบบแสดงผลเรดาร์ภาคพื้นดิน หรือ Ground Situation Display (GSD)

ระบบนี้จะแสดงผลตำแหน่งอากาศยานล่าสุดที่กำลังเคลื่อน (Taxi) มาอยู่ภายในบริเวณ Taxiway ทางวิ่ง (Runway) และ หลุมจอด (Bay) ต่างๆ ภายในบริเวณท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ โดยมีการแบ่งแยก เที่ยวบินขาเข้า เที่ยวบินขาออก และเที่ยวบินที่กำลังจอด ณ หลุมจอด

ระบบแสดงผลเรดาร์ภาคพื้นอากาศ หรือ Air Situation Display (ASD)

ระบบ ASD จะรับข้อมูลจากระบบประมวลผลเรดาร์ ณ ศูนย์ควบคุมจราจรทางอากาศ ทุ่งมหาเมฆ ซึ่งรวบรวมข้อมูลอากาศยานที่กำลังทำการบินจากสถานีฐานเรดาร์ต่างๆทั่วประเทศ มาแสดงผลตามเส้นทางการบิน ภายในขอบเขตการบินกรุงเทพ (Bangkok FIR) ลูกค้าสามารถเลือกระบบการแสดงผลในลักษณะแผนที่แบบ 2 มิติ และเลือกแสดงผลเลเยอร์ต่างๆได้อย่างอิสระ อาทิ เส้นทางการบิน จุดรายงานการบิน ท่าอากาศยานปลายทาง เส้นทางบินเข้า-ออก ฯลฯ

ตัวอย่างหน้าจอระบบ Air Situation Display
ตัวอย่างหน้าจอระบบ Air Situation Display
รูปแสดงตัวอย่างหน้าจอระบบ Air Situation Display

นอกจากนี้ วิทยุการบินฯ ได้ปรับปรุงระบบเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง โดยได้พัฒนาซอฟท์แวร์แสดงผลให้ตรงรูปแบบอื่นๆ ตามความต้องการใช้งานเฉพาะด้านได้อีกด้วย อาทิ ระบบแสดงผล 10-Mile Out สำหรับ ศูนย์ปฏิบัติการการบิน ของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ที่ต้องการติดตามตรวจสอบอากาศยานและจัดลำดับการให้บริการสำหรับอากาศยานในรัศมี 10 ไมล์ทะเล ซึ่งกำลังจะร่อนลงจอด ณ ท่าอากาศยาน หรือการแสดงผลบนจอมอนิเตอร์ขนาดใหญ่สำหรับแสดงผลส่วนกลาง ในห้องปฏิบัติการการบิน (Operation Center) ได้อีกด้วย ปัจจุบันมีลูกค้าสายการบินใช้บริการหลายราย อาทิ สายการบินกรุงเทพ สายการบินนกแอร์ และบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) เป็นต้น

ระบบ ASD ณ ที่ทำการสายการบินนกแอร์
รูปแสดงระบบ ASD ณ ที่ทำการสายการบินนกแอร์

บริการเชิงเทคนิคเพื่อสนับสนุนการอำนวยการปฏิบัติการบิน

จากการที่ วิทยุการบินฯ ได้พัฒนาระบบเซิฟเวอร์จัดเก็บข้อมูลเรดาร์การบินไว้ในระบบฐานข้อมูลแล้วนั้น ทำให้สามารถพัฒนาระบบซอฟท์แวร์เพื่อนำข้อมูลจากเรดาร์นี้มาประมวลผลในภายหลัง ในรูปแบบของการทำ Data Mining เพื่อประโยชน์ในการค้นหาและจัดทำข้อมูลทางสถิติเชิงวิเคราะห์ต่างๆ ที่น่าสนใจ และเป็นประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจ ตามจุดประสงค์การใช้งานของลูกค้า ทั้งหน่วยงานภาครัฐ และลูกค้าสายการบิน อาทิ

  • การวิเคราะห์ความหนาแน่นของปริมาณเที่ยวบินตามเส้นทางการบิน (Flight Statistic and Work-Load Analysis)
  • การประมวลผลเชิงวิเคราะห์ของสมรรถนะในการทำการบินของแต่ละเที่ยวบิน (Flight performance Monitoring)
  • การรายงานผลและวิเคราะห์การเข้าใกล้กันของอากาศยาน (Conflict Alert)
  • การประมวลผลข้อมูลผลกระทบจากมลภาวะทางเสียง (Noise Monitoring)
  • การแสดงผลข้อมูลเรดาร์บนกระดานมือถือ (ASD Radar Display for Tablet Device)

ทั้งนี้ วิทยุการบินฯ มีความพร้อมที่จะพัฒนาระบบเพื่อให้บริการตามวัตถุประสงค์ และความต้องการของผู้ใช้งาน โดยมีทีมงานวิศวกร นักวิชาการ ผู้มีประสบการณ์ในแวดวงการควบคุมจราจรทางอากาศ ฯลฯ ที่พร้อมในการจัดทำซอฟท์แวร์ จัดทำรายงานสรุป รวมถึงการให้คำปรึกษาในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

การรายงานผลและวิเคราะห์การเข้าใกล้กันของอากาศยาน
การรายงานผลและวิเคราะห์การเข้าใกล้กันของอากาศยาน
 

Near “Mid-Air Collision” Report เป็นรายงานอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่ออากาศยานสองลำ (หรือมากกว่า) เข้าใกล้กันเกินระยะปลอดภัย (separation) ที่กำหนดไว้ ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่า เกิดจาก ความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศ หรือความบกพร่องของนักบินผู้ควบคุมอากาศยาน หรือสาเหตุจากปัจจัยภายนอก อาทิเช่น ความชำรุดบกพร่องของอุปกรณ์บังคับการบิน หรือเครื่องมือวัดบนอากาศยาน หรือสภาวะลมฟ้าอากาศ เป็นต้น

สาเหตุที่พบบ่อยประการหนึ่ง คือ นักบินได้ตั้งให้ระบบ Auto Pilot ทำการบินโดยอัตโนมัติ แต่บังเอิญมือนักบินไปแตะหรือขยับคันบังคับ (Flight Stick Control Column) โดยบังเอิญ ซึ่งมีผลทำให้ระบบ Auto Pilot หยุดทำงาน และกลับมาสู่การควบคุมด้วยมือของนักบิน ซึ่งหากนักบินยังไม่ทราบสถานะว่าขณะนั้นเครื่องบินอยู่ภายใต้การบังคับแบบ manual จะทำให้เครื่องบินเสียระยะความสูง

จากรูปพบว่า มีอากาศยาน 2 ลำ กำลังเข้าใกล้กันเกินกว่าระยะปลอดภัยทางแนวข้าง (lateral separation) ที่ 5 ไมล์และระยะปลอดภัยทางแนวตั้ง (vertical separation) 1,000 ฟุต ทั้งนี้ โดยคำนวณจากตำแหน่งพิกัดและระยะเพดานบินจากข้อมูลที่ระบบเรดาร์รับได้ โดยระบบฯ จะทำการบันทึกข้อมูลการบินของเครื่องบินแต่ละลำขณะเกิดเหตุ และบันทึกภาพหน้าจอเรดาร์ไว้เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการสอบสวนต่อไป

การรายงานสถิติเชิงวิเคราะห์ของเที่ยวบินตามเส้นทางการบิน
การรายงานสถิติเชิงวิเคราะห์ของเที่ยวบินตามเส้นทางการบิน
การรายงานสถิติเชิงวิเคราะห์ของเที่ยวบินตามเส้นทางการบิน

Noise Monitoring Analysis
Noise Monitoring Analysis

การวิเคราะห์ปริมาณเที่ยวบินและภาระงาน (Work-Load) ของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน
การวิเคราะห์ปริมาณเที่ยวบินและภาระงาน (Work-Load) ของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน
การวิเคราะห์ปริมาณเที่ยวบินและภาระงาน (Work-Load) ของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน

การวิเคราะห์ด้านสมรรถนะในการทำการบินตามเส้นทางบินประจำ
การวิเคราะห์ด้านสมรรถนะในการทำการบินตามเส้นทางบินประจำ
การวิเคราะห์ด้านสมรรถนะในการทำการบินตามเส้นทางบินประจำ
(ในรูปแสดงเที่ยวบินประจำ กรุงเทพ – สมุย)