วิทยุการบินฯ ร่วมจัดทำเส้นทางบินคู่ขนาน LPB – ELASU เชื่อมต่อเส้นทางบินระหว่างประเทศไทย – ลาว – จีน เน้นรองรับเที่ยวบินจากจีนได้มากขี้น คาดแล้วเสร็จภายในปี 2569
นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า “จากแนวนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงคมนาคมที่มุ่งเน้นให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาค โดยได้กำชับ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด ให้ดำเนินแผนงานปรับปรุงเส้นทางบินสำหรับทุกทิศทางการบินเชื่อมต่อไปยังภูมิภาคต่าง ๆ อย่างเร่งด่วน โดยเส้นทางบินที่จัดทำใหม่เป็นเส้นทางบินคู่ขนาน ซึ่งอาศัยเทคโนโลยี Performance Based Navigation (PBN) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการจราจรทางอากาศและเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับเที่ยวบิน ช่วยลดระยะทางการบิน ซึ่งจะเป็นการลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วย โดยเมืองเฉิงตู ถือเป็นอีกหนี่งจุดหมายปลายทางที่มีความสำคัญด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว ประชากรชาวเฉิงตูเป็นนักท่องเที่ยวที่มีศักยภาพด้านการใช้จ่าย และให้ความสนใจมาท่องเที่ยวประเทศไทยเพิ่มขึ้น เป็นการขยายตลาดการบินที่คุ้มค่าการลงทุน และคาดว่าจะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจสู่ประเทศไทยอย่างมหาศาล”
นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ ประธานคณะกรรมการ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด กล่าวเพิ่มเติมว่า “วิทยุการบินฯ ได้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบบริการการเดินอากาศ และเพิ่มศักยภาพการให้บริการการเดินอากาศให้สามารถรองรับปริมาณเที่ยวบินที่เพิ่มขึ้น รวมถึงบริหารห้วงอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ โดย วิทยุการบินฯ ได้ดำเนินโครงการความร่วมมือกับจีนและลาว ในการสร้างเส้นทางบินใหม่แบบคู่ขนาน (Parallel Route) เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาคอขวด ซึ่งเดิมจากการตรวจสอบพบว่า เส้นทางการบินเข้า-ออกระหว่างประเทศไทยกับจีน มีปัญหาคอขวดเกิดขึ้นบริเวณประเทศลาวที่จะเข้ามายังประเทศไทย ดังนั้น วิทยุการบินฯ จึงเข้าหารือกับทางจีนและลาว เพื่อสร้างกรอบความร่วมมือถึงแนวการการแก้ไข ปัญหา ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำเส้นทางบินคู่ขนานทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ เพื่อบริหารจัดการจราจรทางอากาศ ที่จะไปยังสนามบินหลัก คือ เชียงใหม่ และเชียงราย รวมทั้งเส้นทางบินแยกย่อยไปยังสนามบินต่าง ๆ ในภาคเหนือ รวมถึง การเชื่อมต่อเส้นทางบินระหว่างประเทศ เพื่อรองรับปริมาณการจราจรทางอากาศจากประเทศจีน ซึ่งจะทำให้สามารถเชื่อมโยงไปยังเมืองที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของจีน เช่น เฉิงตู เทียนฟู คุนหมิง กุ้ยหยาง ฉงชิง ซีอาน สำหรับความคืบหน้าหลังจาก วิทยุการบินฯ เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม The First Airspace Management Cooperation Meeting เมื่อวันที่ 24-25 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา หน่วยงานการบินของจีนได้นำเสนอหลักการสร้างเส้นทางบินคู่ขนาน เส้นทางบิน LPB – ELASU (จีน-ลาว) โดยมีข้อเสนอแนวทางการสร้างเส้นทางบินใหม่ และเส้นทางบินแบบ Conditional Route ภายในเขตแถลงข่าวการบินของจีน รวม 2 เส้นทางบิน อย่างไรก็ดี วิทยุการบินฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เห็นชอบในหลักการสร้างเส้นทางบินคู่ขนาน และได้ร่วมกันจัดทำแผนดำเนินการ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2569 เป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับปริมาณการจราจรทางอากาศในทุกทิศทาง เป็นการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานระหว่างประเทศ เพื่อเพิ่มศักยภาพการใช้ห้วงอากาศร่วมกัน ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ และเป็นหนึ่งในการดำเนินการเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่การเป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาค (Aviation Hub) ตามนโยบายรัฐบาลต่อไป”
นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า “จากแนวนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงคมนาคมที่มุ่งเน้นให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาค โดยได้กำชับ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด ให้ดำเนินแผนงานปรับปรุงเส้นทางบินสำหรับทุกทิศทางการบินเชื่อมต่อไปยังภูมิภาคต่าง ๆ อย่างเร่งด่วน โดยเส้นทางบินที่จัดทำใหม่เป็นเส้นทางบินคู่ขนาน ซึ่งอาศัยเทคโนโลยี Performance Based Navigation (PBN) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการจราจรทางอากาศและเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับเที่ยวบิน ช่วยลดระยะทางการบิน ซึ่งจะเป็นการลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วย โดยเมืองเฉิงตู ถือเป็นอีกหนี่งจุดหมายปลายทางที่มีความสำคัญด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว ประชากรชาวเฉิงตูเป็นนักท่องเที่ยวที่มีศักยภาพด้านการใช้จ่าย และให้ความสนใจมาท่องเที่ยวประเทศไทยเพิ่มขึ้น เป็นการขยายตลาดการบินที่คุ้มค่าการลงทุน และคาดว่าจะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจสู่ประเทศไทยอย่างมหาศาล”
นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ ประธานคณะกรรมการ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด กล่าวเพิ่มเติมว่า “วิทยุการบินฯ ได้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบบริการการเดินอากาศ และเพิ่มศักยภาพการให้บริการการเดินอากาศให้สามารถรองรับปริมาณเที่ยวบินที่เพิ่มขึ้น รวมถึงบริหารห้วงอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ โดย วิทยุการบินฯ ได้ดำเนินโครงการความร่วมมือกับจีนและลาว ในการสร้างเส้นทางบินใหม่แบบคู่ขนาน (Parallel Route) เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาคอขวด ซึ่งเดิมจากการตรวจสอบพบว่า เส้นทางการบินเข้า-ออกระหว่างประเทศไทยกับจีน มีปัญหาคอขวดเกิดขึ้นบริเวณประเทศลาวที่จะเข้ามายังประเทศไทย ดังนั้น วิทยุการบินฯ จึงเข้าหารือกับทางจีนและลาว เพื่อสร้างกรอบความร่วมมือถึงแนวการการแก้ไข ปัญหา ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำเส้นทางบินคู่ขนานทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ เพื่อบริหารจัดการจราจรทางอากาศ ที่จะไปยังสนามบินหลัก คือ เชียงใหม่ และเชียงราย รวมทั้งเส้นทางบินแยกย่อยไปยังสนามบินต่าง ๆ ในภาคเหนือ รวมถึง การเชื่อมต่อเส้นทางบินระหว่างประเทศ เพื่อรองรับปริมาณการจราจรทางอากาศจากประเทศจีน ซึ่งจะทำให้สามารถเชื่อมโยงไปยังเมืองที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของจีน เช่น เฉิงตู เทียนฟู คุนหมิง กุ้ยหยาง ฉงชิง ซีอาน สำหรับความคืบหน้าหลังจาก วิทยุการบินฯ เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม The First Airspace Management Cooperation Meeting เมื่อวันที่ 24-25 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา หน่วยงานการบินของจีนได้นำเสนอหลักการสร้างเส้นทางบินคู่ขนาน เส้นทางบิน LPB – ELASU (จีน-ลาว) โดยมีข้อเสนอแนวทางการสร้างเส้นทางบินใหม่ และเส้นทางบินแบบ Conditional Route ภายในเขตแถลงข่าวการบินของจีน รวม 2 เส้นทางบิน อย่างไรก็ดี วิทยุการบินฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เห็นชอบในหลักการสร้างเส้นทางบินคู่ขนาน และได้ร่วมกันจัดทำแผนดำเนินการ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2569 เป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับปริมาณการจราจรทางอากาศในทุกทิศทาง เป็นการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานระหว่างประเทศ เพื่อเพิ่มศักยภาพการใช้ห้วงอากาศร่วมกัน ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ และเป็นหนึ่งในการดำเนินการเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่การเป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาค (Aviation Hub) ตามนโยบายรัฐบาลต่อไป”