วิทยุการบินแห่งประเทศไทย ร่วมรณรงค์ให้มีการแจ้งขออนุญาตก่อนจุดบั้งไฟ และร่วมสืบสานประเพณีบุญบั้งไฟ ประจำปี 2567 เพื่อความปลอดภัยทางการบิน ย้ำปฏิบัติตามขั้นตอนการขออนุญาตการจุดบั้งไฟ และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อการนำข้อมูลมาจัดทำเป็นข่าวประกาศนักบิน (NOTAM) ให้หลีกเลี่ยงเส้นทางการบิน
ดร. ณพศิษฏ์ จักรพิทักษ์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.) เปิดเผยว่า ประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นประเพณีที่สร้างความสนใจให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเดินทางมาเที่ยวชมจำนวนมาก เป็นการสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน และจังหวัดที่มีการจัดกิจกรรมจุดบั้งไฟ ซึ่งบางพื้นที่การจุดบั้งไฟ เป็นพื้นที่เดียวกับเส้นทางการบิน และมีความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอันตรายทางการบิน ทั้งนี้บั้งไฟบางประเภทสามารถพุ่งขึ้นไปสูงถึง 16,000 – 23,000 ฟุต หรือประมาณ 5-7 กิโลเมตร ซึ่งเป็นความสูงในการทำการบินของเครื่องบินโดยสาร
ดังนั้น บวท. จึงขอเป็นหน่วยงานหนึ่งในการร่วมรณรงค์การจุดบั้งไฟเพื่อความปลอดภัยทางการบิน และขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนปฏิบัติตามขั้นตอนการขออนุญาตจุดบั้งไฟ ประสานหน่วยงานปกครองในพื้นที่ล่วงหน้าก่อนการจัดงาน ประสานท่าอากาศยานเพื่อการนำข้อมูลมาจัดทำเป็นข่าวประกาศนักบิน (NOTAM) สำหรับใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการจัดทำแผนการบินและการทำการบินของนักบิน รวมถึงเป็นข้อมูลให้กับเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศในการอำนวยความสะดวกแก่สายการบินในแต่ละเที่ยวบิน
ขั้นตอนการขอจุดบั้งไฟ
1. ประชาชนหรือผู้จัดงานจะต้องขอแบบฟอร์มใบอนุญาตขอปล่อยบั้งไฟจากพนักงานเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ประจำตำบล อำเภอ หรือจังหวัด
2. กรอกข้อมูล วัน/เดือน/ปี เวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการจุดบั้งไฟ ขนาดและจำนวนของบั้งไฟ ที่ตั้งหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ ตำแหน่งการจุดบั้งไฟ รวมถึงชื่อและเบอร์โทรศัพท์ผู้จัดงานเพื่อการประสานงานได้ทันที
3. แจ้งอย่างน้อย 7- 15 วัน และประสานแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (ท่าอากาศยานหรือหอควบคุมจราจรทางอากาศ) ก่อนทำการจุดบั้งไฟทุกครั้ง
4. หลีกเลี่ยงเขตปลอดภัยการบิน คือบริเวณแนวขึ้น – ลงของเครื่องบิน และบริเวณโดยรอบท่าอากาศยานโดยสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย https://www.caat.or.th/th/sk
ดร. ณพศิษฏ์ จักรพิทักษ์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.) เปิดเผยว่า ประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นประเพณีที่สร้างความสนใจให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเดินทางมาเที่ยวชมจำนวนมาก เป็นการสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน และจังหวัดที่มีการจัดกิจกรรมจุดบั้งไฟ ซึ่งบางพื้นที่การจุดบั้งไฟ เป็นพื้นที่เดียวกับเส้นทางการบิน และมีความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอันตรายทางการบิน ทั้งนี้บั้งไฟบางประเภทสามารถพุ่งขึ้นไปสูงถึง 16,000 – 23,000 ฟุต หรือประมาณ 5-7 กิโลเมตร ซึ่งเป็นความสูงในการทำการบินของเครื่องบินโดยสาร
ดังนั้น บวท. จึงขอเป็นหน่วยงานหนึ่งในการร่วมรณรงค์การจุดบั้งไฟเพื่อความปลอดภัยทางการบิน และขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนปฏิบัติตามขั้นตอนการขออนุญาตจุดบั้งไฟ ประสานหน่วยงานปกครองในพื้นที่ล่วงหน้าก่อนการจัดงาน ประสานท่าอากาศยานเพื่อการนำข้อมูลมาจัดทำเป็นข่าวประกาศนักบิน (NOTAM) สำหรับใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการจัดทำแผนการบินและการทำการบินของนักบิน รวมถึงเป็นข้อมูลให้กับเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศในการอำนวยความสะดวกแก่สายการบินในแต่ละเที่ยวบิน
ขั้นตอนการขอจุดบั้งไฟ
1. ประชาชนหรือผู้จัดงานจะต้องขอแบบฟอร์มใบอนุญาตขอปล่อยบั้งไฟจากพนักงานเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ประจำตำบล อำเภอ หรือจังหวัด
2. กรอกข้อมูล วัน/เดือน/ปี เวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการจุดบั้งไฟ ขนาดและจำนวนของบั้งไฟ ที่ตั้งหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ ตำแหน่งการจุดบั้งไฟ รวมถึงชื่อและเบอร์โทรศัพท์ผู้จัดงานเพื่อการประสานงานได้ทันที
3. แจ้งอย่างน้อย 7- 15 วัน และประสานแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (ท่าอากาศยานหรือหอควบคุมจราจรทางอากาศ) ก่อนทำการจุดบั้งไฟทุกครั้ง
4. หลีกเลี่ยงเขตปลอดภัยการบิน คือบริเวณแนวขึ้น – ลงของเครื่องบิน และบริเวณโดยรอบท่าอากาศยานโดยสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย https://www.caat.or.th/th/sk