You are here

Print

ประเภทระบบข่ายสื่อสาร

ปัจจุบัน บวท. มีข่ายสื่อสารให้บริการ 3 ระบบ คือ
 

ระบบสื่อสารดาวเทียมภาคพื้นดิน Multi-Channel Per Carrier (MCPC)

ระบบ MCPC เป็นสถานีดาวเทียมแบบ Point-to-Point network และใช้เทคนิคการเข้าใช้ช่องสัญญาณดาวเทียมแบบ Frequency Division Multiple Access (FDMA) ระบบ MCPC ให้บริการได้หลายช่องสัญญาณ (channel) เหมาะสำหรับวงจรสื่อสารจำนวนมาก

ปัจจุบัน มีสถานีลูกข่ายจำนวน 3 สถานี ในต่างประเทศ คือ ประเทศมองโกเลีย ประเทศเวียดนาม และ ฟิลิปปินส์

ระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมภาคพื้นดิน Telephony Earth Station (TES)

ระบบ TES เป็นสถานีดาวเทียมแบบ Mesh Network ใช้เทคนิคการเข้าใช้ช่องสัญญาณดาวเทียมแบบ Frequency Division Multiple Access (FDMA) โดยใช้เทคนิค Demand Assigned Multiple Access (DAMA) สำหรับส่งสัญญาณเสียง และใช้เทคนิค Pre-Assigned Multiple Access (PAMA) สำหรับส่งข้อมูล ระบบ TES ตอบสนองต่อการส่งสัญญาณเสียงและข้อมูลที่รวดเร็ว เนื่องจากว่าแต่ละสถานีดาวเทียมภาคพื้นดินจะติดต่อกันโดยตรง นอกจากนี้ ระบบ TES ยังมี Network Control System (NCS) เป็นหัวใจของระบบ ทำหน้าที่ในการจัดสรรช่องสัญญาณ และยังมีระบบ Redundant NCS เพื่อให้สามารถบริการได้ตลอดเวลา
ปัจจุบัน มีสถานีภาคพื้นดินแม่ข่ายตั้งอยู่ที่ทุ่งมหาเมฆ และมีสถานีภาคพื้นดินลูกข่ายจำนวน 3 สถานี ในต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศมาเลเซีย ประเทศบังคลาเทศ ประเทศเวียดนาม

ระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมภาคพื้นดิน Linkway

ระบบ LinkWay เป็นระบบที่รวมคุณสมบัติของ star network และ mesh network เข้าด้วยกัน โดยใช้เทคนิคการเข้าใช้ช่องสัญญาณดาวเทียมแบบ Time Division Multiple Access (TDMA) มี interface แบบ IP broadband รองรับการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เพื่อเพิ่มความสะดวกต่อการใช้งาน Linkway สามารถรับส่งข้อมูลทั้งข้อความ รูปภาพ เสียงและภาพเคลื่อนไหวผ่านอินเตอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็วเนื่องจากสถานีดาวเทียมภาคพื้นดินสามารถติดต่อระหว่างกันได้โดยตรง ไม่ต้องผ่านสถานีภาคพื้นดินแม่ข่าย ทำให้ช่วยเพิ่มความเร็วในการส่งสัญญาณ นอกจากนี้ ยังมี Network Control Center (NCC) ทำหน้าที่จัดสรรช่องสัญญาณ และ Redundant NCC เพื่อให้ระบบ Linkway สามารถให้บริการได้ตลอดเวลาถ้า NCC ไม่สามารถใช้งานได้ นอกจากนี้ยังรองรับระบบ Digital Video Broadcasting - Satellite Second Generation (DVB S2) สำหรับงานด้าน video broadcast อีกด้วย

ปัจจุบัน บริษัทฯ ได้ติดตั้งสถานีภาคพื้นดินลูกข่ายทั้งหมด 58 สถานี ทั่วประเทศ และ ต่างประเทศ  ได้แก่ ย่างกุ้ง (สหภาพเมียนมา) เวียงจันทน์ (ลาว) และ พนมเปญ (กัมพูชา) และ สถานีทดสอบการทำงานของข่ายสื่อสาร (Co-located  ทุ่งมหาเมฆ) ส่วนสถานีภาคพื้นดินแม่ข่ายหลักตั้งอยู่ที่ ทุ่งมหาเมฆ โดยมีสถานีภาคพื้นดินแม่ข่ายสำรองตั้งอยู่ที่ สนามบินสุวรรณภูมิ และสถานีแม่ข่ายสำรองฉุกเฉินที่ศูนย์ควบคุมการบินพิษณุโลก