You are here

Print

ข่ายสื่อสารผ่านดาวเทียม

บวท. ให้บริการข่ายสื่อสารผ่านดาวเทียมแก่หน่วยงานอื่นทั้งภายในประเทศและประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่บริการให้เช่าข่ายสื่อสาร Air Traffic Service Direct Speech Circuits (ATS DSC)  และข่ายสื่อสาร Aeronautical Telecommunication Networks (AFTN) เป็นต้น โดยมีวงจรข่ายสื่อสารที่ให้บริการแก่หน่วยงานกรมการบินพลเรือน ดังนี้

วงจรข่ายสื่อสารผ่านดาวเทียมที่ให้บริการ

  • สปป.ลาว จำนวน 2 วงจร : เวียงจันทน์ – กรุงเทพฯ และ เวียงจันทน์ (เหนือ) – กรุงเทพฯ
  • กัมพูชา จำนวน 1 วงจร : พนมเปญ – กรุงเทพฯ
  • เวียดนาม จำนวน 2 วงจร : โฮจิมินห์ – กัวลาลัมเปอร์ และ โฮจิมินห์ – กรุงเทพฯ
  • มาเลเซีย จำนวน 2 วงจร : กัวลาลัมเปอร์ – กรุงเทพฯ และ กัวลาลัมเปอร์ – โฮจิมินห์
  • เมียนมา จำนวน 1 วงจร : ย่างกุ้ง – กรุงเทพ
  • บังคลาเทศ จำนวน 2 วงจร : ดักก้า – กรุงเทพฯ และ ดักก้า – ย่างกุ้ง

กลุ่มลูกค้าผู้ใช้บริการ

  • Lao Air Navigation Services สปป.ลาว
  • Cambodia Air Traffic Services ประเทศกัมพูชา
  • Vietnam Air Traffic Management ประเทศเวียดนาม
  • Telekom Malaysia Berhad ประเทศมาเลเซีย
  • Department Civil Aviation Myanmar สหภาพเมียนมา
  • Civil Aviation Authority of Bangladesh ประเทศบังคลาเทศ

ความเป็นมา

  • พ.ศ. 2537  บวท. ได้จัดหาระบบดาวเทียมภาคพื้นดิน 2 ระบบ คือ ระบบ Multi-Channel Per Carrier (MCPC) และระบบ Personal Earth Station (PES) และยังได้มีการเช่าใช้ช่องสัญญาณสำหรับส่งผ่านข้อมูล ขนาด 1/4 ทรานสปอนเดอร์ ของดาวเทียมไทยคม ในเริ่มแรก บริษัทฯ ได้ติดตั้งสถานีลูกข่ายทั้งหมด 25 สถานี เพื่อสนับสนุนงานด้านควบคุมจราจรทางอากาศและการสื่อสารการบินทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ 
  • พ.ศ. 2539 ได้มีการเพิ่มการใช้งานของข่ายสื่อสารผ่านดาวเทียม โดยให้บริการงานด้าน Automatic Dependent Surveillance (ADS) ซึ่งเป็นการเชื่อมโยง Network Management Data Processing System (NMDPS) กับ Remote Ground Station (RGS) 
  • พ.ศ. 2542 บวท. ได้จัดหาระบบดาวเทียมภาคพื้นดินเพิ่มอีก 1 ระบบ คือ ระบบ Telephony Earth Station  (TES) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการข่ายสื่อสารผ่านดาวเทียม โดยระบบทั้ง 3 ระบบได้ถูกออกแบบสำหรับให้บริการทั้งข้อมูล (Data) และเสียง (Voice) นอกจากนี้ ทางบวท. ได้นำช่องสัญญาณที่นอกเหนือจากการใช้งานในภารกิจของบวท. ไปให้บริการกับหน่วยงานอื่นทั้งภายในประเทศและประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่บริการให้เช่าข่ายสื่อสาร Air Traffic Service Direct Speech Circuits (ATS DSC)  และข่ายสื่อสาร Aeronautical Telecommunication Networks (AFTN)  เป็นต้น
  • พ.ศ. 2554 ได้ติดตั้งสถานีภาคพื้นดินแม่ข่าย ณ สำนักงานใหญ่ ทุ่งมหาเมฆ และสถานีภาคพื้นดินลูกข่ายจำนวน 4 สถานี เนื่องจากปัจจุบันทางบริษัทผู้ผลิต ได้ยกเลิกการผลิตอุปกรณ์สื่อสารดาวเทียมระบบ PES และ ระบบ TES ดังนั้นทาง บวท. จึงได้จัดหาระบบดาวเทียมภาคพื้นดินระบบใหม่ ซึ่งเป็นชนิด IP Broadband ที่เรียกว่า ระบบ Linkway มาติดตั้งทดแทนระบบ PES
  • พ.ศ. 2555 ได้ติดตั้งสถานีภาคพื้นดินแม่ข่ายสำรองชนิด Geographic Redundancy Hub ที่สนามบินสุวรรณภูมิ และสถานีภาคพื้นดินลูกข่าย 9 สถานี
  • พ.ศ. 2558 ติดตั้งอุปกรณ์ระบบ Linkway ทดแทน ระบบ TES จำนวน 3 สถานีแม่ข่าย ได้แก่ ทุ่งมหาเมฆ สุวรรณภูมิ ดอนเมือง และ จำนวน 27 สถานีภาคพื้นดินลูกข่าย ทั่วประเทศ  พร้อมทั้งจัดหาอุปกรณ์สำหรับติดตั้งทดแทนที่สถานีต่างประเทศ ได้แก่ สปป. ลาว บังกลาเทศ ฟิลิปปินส์ และ อินโดนีเซีย
  • พ.ศ. 2559 ติดตั้งสถานีดาวเทียม Linkway ที่สถานีเรดาร์ทั่วประเทศ เพื่อใช้งานเป็นข่ายสำรองของระบบเรดาร์
  • พ.ศ. 2560 ติดตั้งอุปกรณ์ระบบ Linkway ทดแทน ระบบ TES จำนวน ๒ สถานี ได้แก่ เวียงจันทน์ สปป. ลาว และพนมเปญ กัมพูชา