You are here

Print

ประเภทอุปกรณ์

ระบบวิทยุคมนาคมภาคพื้นกับอากาศยาน

เป็นระบบวิทยุสื่อสารสำหรับติดต่อระหว่างภาคพื้นกับอากาศยานย่านความถี่ VHF สำหรับใช้ติดต่อระหว่างสถานีภาคพื้นดินกับอากาศยานในรัศมีโดยรอบจากสนามบินเพื่อให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วในการปฏิบัติงานด้านการบิน เช่น ข้อมูลผู้โดยสาร การจัดเตรียมเครื่องมือ อะไหล่ น้ำมัน การบริการทางแพทย์

  • วิทยุสื่อสารอากาศยานติดตั้งประจำที่ (A/G Base Station) ใช้สื่อสารระหว่างสถานีภาคพื้นดินกับอากาศยาน (Air to Ground Radio Communication) ในรัศมี 200 ไมล์ทะเล
  • อุปกรณ์ควบคุมวิทยุสื่อสารระยะไกล (Remote Control Unit : RCU) ใช้สำหรับเชื่อมต่อกับวิทยุที่ติดตั้งแบบประจำที่ (Base Station) เพื่ออำนวยความสะดวกในการควบคุมและสื่อสารระยะไกล ณ สำนักงานของผู้ใช้งาน
  • วิทยุสื่อสารอากาศยานมือถือ (A/G Handie-Talkie) เป็นวิทยุสื่อสารประเภทมือถือใช้สื่อสารระหว่างภาคพื้นดินกับอากาศยาน (Air to Ground Radio Communication) ในรัศมีไม่เกิน 10 ไมล์ทะเล
  • วิทยุสื่อสารอากาศยานติดรถยนต์ (A/G Mobile Radio) ติดตั้งในรถยนต์เพื่อใช้สื่อสารระหว่างภาคพื้นดินกับอากาศยาน (Air to Ground Radio Communication)  ในรัศมีไม่เกิน 50 ไมล์ทะเล
  • วิทยุสื่อสารอากาศยานติดตั้งประจำที่  (A/G Mobile Radio for desktop) เป็นวิทยุสื่อสารประเภทติดตั้งประจำที่เพื่อสื่อสารระหว่างภาคพื้นดินกับอากาศยาน (Air to Ground Radio Communication) ในรัศมีไม่เกิน 150 ไมล์ทะเล

บริการวิทยุคมนาคมภาคพื้นดิน (Ground to Ground Radio)

เป็นระบบวิทยุสื่อสารสำหรับติดต่อระหว่างภาคพื้นดินด้วยกัน เพื่อประสานงานระหว่างหน่วยงานด้วย ความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย ขณะปฏิบัติงาน แบ่งเป็น 

  • การบริการวิทยุสื่อสารช่องสัญญาณเดียว Single Channel (Conventional Radio) ให้บริการในพื้นที่ใช้งานจำกัด และมีลูกข่ายจำนวนไม่มาก เช่น ท่าอากาศยานขนาดเล็ก 
  • บริการวิทยุสื่อสารเฉพาะกลุ่ม  (Trunked Radio) ให้บริการในพื้นที่ที่มีลูกข่ายจำนวนมาก และใช้งานในพื้นที่ที่มี บริเวณกว้างตามที่เครือข่ายครอบคลุม โดยปัจจุบันได้นำระบบ Digital Trunked Radio ตามมาตรฐาน TETRA มาให้บริการ ณ ท่าอากาศยานหลักและหน่วยงานกลุ่มพลังงานในพื้นที่ต่าง ๆ  โดยมีอุปกรณ์ที่ให้บริการประเภทต่าง ๆ ดังนี้
    • วิทยุมือถือ Non-intrinsically และ Intrinsically Safe ใช้สำหรับการติดต่อสื่อสารในการปฏิบัติงานปกติและยามฉุกเฉิน โดยใช้วัสดุที่แข็งแรงทนทานตามมาตรฐาน Ingress Protection ในระดับ IP67 สำหรับรุ่นที่เป็น Intrinsically safe จะป้องกันการเกิดประกายไฟตามมาตรฐาน ATEX/FM/UL เหมาะกับงานภาคสนามและพื้นที่เสี่ยงต่อการจุดระเบิด และคุณภาพของเสียงมีความชัดเจนแม้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงรบกวน และจอแสดงผลมีความสว่างสูง มีตัวอักษรขนาดใหญ่ ระยะเวลาแบตเตอรี่นาน และแจ้งเตือนเมื่อแบตเตอรี่ใกล้หมด 
    • วิทยุสื่อสารแบบติดตั้งประจำที่ และติดตั้งในรถยนต์ ใช้งานง่าย แข็งแรงทนทาน คุณภาพเสียงคมชัดเหมาะกับการใช้งานในสภาพแวดล้องที่มีเสียงรบกวน

อุปกรณ์รับ-ส่ง ข่าวสารข้อมุลการบิน (AMSS Terminal TX&RX) 

เป็นอุปกรณ์รับ – ส่งข้อมูลข่าวสารการบินด้วยโปรแกรม AEROTHAI User Agent : UA โดยให้บริการผ่าน (Aeronautical Telecommunication Network : ATN) ประกอบด้วยข้อมูล 

  • NOTAM ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ 
  • ข้อมูลขออนุมัติทำการบิน แผนการบิน (Flight Plan) 
  • ข่าวอากาศ (MET)  
  • ข้อมูลความปลอดภัยอื่นๆ 

เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถจัดทำข้อมูลก่อนทำการบิน (Pre-Flight Briefing) ให้กับนักบินได้ด้วยตนเอง เป็นช่องทางการเรียกใช้ข้อมูลข่าวอากาศการบินประจำวันได้จาก OPMET Server เรียกใช้ NOTAM หรือ Pre - flight Information Bulletin : PIB จาก AIS Automation System ได้ตลอดเวลา เพื่อความสะดวกและปลอดภัยในการทำการบิน